ผลกระทบเงินเฟ้อมีผลต่อธุรกิจประเภทใดบ้าง ที่ควรชะลอหรือพักธุรกิจไปก่อน

ผลกระทบเงินเฟ้อมีผลต่อธุรกิจประเภทใดบ้าง ที่ควรชะลอหรือพักธุรกิจไปก่อน

ผลกระทบเงินเฟ้อส่งผลโดยทั่วไปต่อการใช้ชีวิตของทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ราคาสินค้าที่ใกล้ตัวที่สุดอย่างอาหารตาม สั่งจะค่อย ๆ ขึ้นราคาในช่วงชีวิตของเรา แค่เปรียบเทียบสมัยเรียนกับช่วงที่ทำงานแล้ว ห่างกันไม่เกิน 10 ปีก็ราคาต่างกันแล้ว แต่สำหรับผลกระทบในภาพใหญ่ต่ออุตสาหกรรมธุรกิจต่าง ๆ เงินเฟ้ออาจจะส่งผลกระทบได้รุนแรงกว่า เพราะส่งผลต่อดอกเบี้ยของเงินกู้และการลงทุนขยายธุรกิจต่าง ๆ เราจึงควรติดตามว่าธุรกิจประเภทใดที่ควรระวังผลกระทบของเงินเฟ้อบ้าง เพื่อให้วางแผนการลงทุนได้อย่างเหมาะสม

ผลกระทบเงินเฟ้อต่อการทำธุรกิจมีอะไรบ้าง 

ผลกระทบเงินเฟ้อที่ส่งผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยทั่วไปของประชาชน คือ การต้องซื้อสินค้าและบริการในราคาที่แพงขึ้น แต่สำหรับภาคธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จะหมายถึงต้นทุนของวัตถุดิบที่ราคาสูงขึ้น และดอกเบี้ยจากเงินกู้ที่กู้ยืมมาเพื่อการลงทุน ก็ปรับตัวสูงขึ้นไปด้วย ทำให้ภาระการจ่ายหนี้เพิ่มขึ้น และจะส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจต่อไปคือ ต้องขึ้นราคาสินค้า ต้องหามาตรการประหยัดต้นทุน ซึ่งวิธีที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักใช้ในการลดต้นทุนก็คือ ลดการจ้างแรงงาน ลดการทำโอที ลดสวัสดิการต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสุดท้ายแล้วจะกลายเป็นผลกระทบที่ส่งผลต่อประชาชนอีกทอดหนึ่ง คือ ประชาชนที่ทำงานในธุรกิจที่เปราะบางเหล่านี้ จะมีรายได้ลดลง และประชาชนทุกคนต้องซื้อสินค้าในราคาที่แพงขึ้น

ผลกระทบเงินเฟ้อ

3 ประเภทธุรกิจที่มักได้รับผลกระทบเงินเฟ้อรุนแรงกว่า

ถึงแม้ผลกระทบเงินเฟ้อจะทำให้การดำเนินธุรกิจบางประเภทยากลำบากมากขึ้น ในขณะเดียวกันธุรกิจบางประเภทก็ได้รับผลประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าจำเป็น ได้แก่ อุตสาหกรรมพลังงานหรือเชื้อเพลิงต่าง ๆ สินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ และสินค้าประเภทอาหารสด เพราะถึงแม้จะต้องปรับราคาสูงขึ้น แต่ยังเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่จำเป็นต้องซื้อหรือใช้อยู่ดี จึงยังสามารถเติบโตต่อไปได้อีก ในขณะเดียวกันกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อหนักกว่าคือ กลุ่มธุรกิจการบริการและสินค้าฟุ่มเฟือยต่าง ๆ ซึ่งผู้บริโภคสามารถหยุด ลด หรือเลิกซื้อได้ โดยธุรกิจเหล่านี้จะต้องมีการวางแผนสำรอง หรือมีกลยุทธ์ที่ช่วยประคองธุรกิจให้อยู่รอดในสภาวะเงินเฟ้อให้ได้

  1. ธุรกิจการท่องเที่ยว

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ ไม่ว่าจะเป็นฤดูกาล สภาพอากาศ ช่วงวัยหรืออายุของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงกระแสการท่องเที่ยวจากเทรนด์บนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ธุรกิจการท่องเที่ยวจึงมีความไม่แน่นอน และมีความผันผวนในอัตราที่สูงมาก สำหรับในประเทศไทยเอง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญ ที่เป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศเลยทีเดียว หากเงินเฟ้อปรับตัวส่งขึ้น ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย จะได้รับผลกระทบเงินเฟ้ออย่างแน่นอน ดังนั้นการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวจึงต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ สร้างจุดแข็งที่ช่วยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวยังคงอยากมาใช้บริการ หรือแตกไลน์ธรุกิจใหม่ ๆ เพื่อให้มีรายได้หลักเพิ่มขึ้นในบางช่วงเวลา

  1. ธุรกิจประเภทเสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือความงาม

เมื่อค่าครองชีพราคาสูงขึ้น คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้มีรายได้สูงมาก ต้องตัดสินใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคตามความจำเป็น หรือแม้แต่ผู้มีรายได้สูง มีเงินเย็นมากพอสำหรับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ย่อมสนใจในการลงทุนธุรกิจอย่างอื่น มากกว่าธุรกิจประเภทสินค้าฟุ่มเฟือย เนื่องจากธุรกิจประเภทเสื้อผ้า เครื่องประดับ และความสวยความงาม ได้รับความนิยมตามกระแสที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีความแน่นอนในระยะยาวสำหรับผลกำไรที่จะเกิดขึ้น เจ้าของกิจการเองก็ต้องปรับตัวตามกระแสความนิยมอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย หากใครเป็นเจ้าของกิจการประเภทนี้ ต้องตระหนักถึงผลกระทบเงินเฟ้อในระยะยาว และมีแผนสำรองที่ดีเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้

  1. ธุรกิจอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องเพิ่งพาเงินกู้

เมื่อบุคคลทั่วไปที่มีรายได้แน่นอนทุกเดือนยังได้รับผลกระทบเงินเฟ้อในระดับหนึ่ง ผู้ที่ประกอบการที่จำเป็นต้องเพิ่งพาเงินกู้เพื่อดำเนินธุรกิจ ย่อมได้รับผลกระทบอย่างมากจากดอกเบี้ยกู้ยืมที่มีอัตราสูงขึ้น ธุรกิจกลุ่มนี้จึงต้องปรับตัวให้มีแผนการดำเนินธุรกิจที่รอบคอบ ต้องทำการลดและควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้กระทบต่อกระแสเงินสด อาจต้องมีการเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อขอคงอัตราดอกเบี้ย หรือลดดอกเบี้ยลง ที่สำคัญคืออาจะต้องมีแผนสำรองเพิ่มอีกหลายแผน หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนประเภทธุรกิจเพื่อให้มีความมั่นคงมากขึ้น

ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือคนทั่วไป ผลกระทบเงินเฟ้อก็เกิดขึ้นกับคุณอยู่ดี ทั้งในฐานะผู้บริโภคและผู้ประกอบการ สิ่งสำคัญที่สุดคือ การวางแผนรองรับความเสี่ยงทางการเงิน ไม่ใช่เฉพาะสำหรับการรับมือเงินเฟ้อเท่านั้น แต่ต้องรับมือกับสภาวะทางการเงินทุกสถานการณ์ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด การขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ย โดยปรับเปลี่ยนแผนทางการเงินให้เข้ากับเป้าหมายการเงิน หรือเป้าหมายของธุรกิจอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากธุรกิจนั้นไปต่อไม่ไหวจริง ๆ การหยุดพัก หรือเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ ก็อาจจะเป็นทางรอดสำคัญที่ต้องตัดใจทำ