รับขายฝากที่ดินต้องเตรียมค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง? 

รับขายฝากที่ดินต้องเตรียมค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง? 

ในส่วนของขั้นตอนการจ่ายค่าธรรมเนียมเมื่อต้องการขายฝากโดยทั่วไปแล้วเราหรือผู้ขายฝากจำเป็นต้องรับผิดชอบ ถึงแม้จะสามารถต่อรองกับผู้ซื้อฝากให้สามารถจ่ายให้เราก่อนได้ แต่สุดท้ายเราก็ยังคงต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อยู่ดี ดังนั้นเพื่อให้มั่นใจเราจึงจะพาไปดูว่าควรเตรียมค่าธรรมเนียมก่อนใช้บริการรับขายฝากที่ดินอะไรบ้าง? เตรียมในสัดส่วนที่เท่าไหร่?  

รับขายฝากที่ดินต้องเตรียมค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง 

สำหรับค่าธรรมเนียมที่เราในฐานะของผู้ขายฝากก่อนใช้บริการรับขายฝากที่ดินจำเป็นต้องจ่าย แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีเป็นนิติบุคคลและกรณีเป็นบุคคลธรรมดาโดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

1. กรณีเป็นนิติบุคคล  

ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายประกอบไปด้วย 

  • ค่าธรรมเนียมการขายฝากที่ดิน 
  • ค่าคำขอ จ่ายในอัตรา 5 บาทต่อแปลง 
  • ค่าพยาน จ่ายในอัตรา 20 บาท 
  • ค่าธรรมเนียมการโอน จ่ายในอัตรา 2% จากราคาประเมิน (จากสำนักงานที่ดิน) หรือราคาขายฝาก 
  • ค่าอากรแสตมป์ จ่ายในอัตรา 0.5% จากราคาประเมินหรือราคาขายฝาก 
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ จ่ายในอัตรา 3.3% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก โดยจะเลือกราคาที่สูงกว่า 
  • ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย จ่ายในอัตรา 1% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินราชการ โดยจะเลือกราคาที่สูงกว่า  

2. กรณีเป็นบุคคลธรรมดา  

  • ค่าคำขอ จ่ายในอัตรา 5 บาทต่อแปลง 
  • ค่าพยาน จ่ายในอัตรา 20 บาท 
  • ค่าธรรมเนียมการโอน จ่ายในอัตรา 2%  
  • ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จ่ายในอัตราตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร 
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ จ่ายในอัตรา 3.3% ของราคาประเมินที่ดินหรือราคาขายฝาก โดยจะเลือกราคาที่สูงกว่า 
  • ค่าอากรแสตมป์ จ่ายในอัตรา 0.5% จากราคาซื้อขายฝาก 

3. ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

  • ค่าต่อสัญญาขายฝาก จ่ายในอัตรา 50 บาทต่อแปลง 
  • ค่าไถ่ถอน (เสีย ณ สำนักงานที่ดิน) 
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จ่ายในอัตราตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร 
  • ค่าอากรแสตมป์ จ่ายในอัตรา 0.5%  
  • ค่าคำขอและค่าพยาน  
  • ค่าธรรมเนียมจ่ายในอัตรา 50 บาทต่อแปลง 

เอกสารที่ต้องเตรียม 

สำหรับเอกสารที่ต้องจัดเตรียมก่อนใช้บริการรับขายฝากที่ดิน แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีทำการขายฝากและเอกสารสำหรับการไถ่ถอน 

  • กรณีต้องการขายฝาก เอกสารที่ต้องเตรียมประกอบไปด้วยโฉนดที่ดินฉบับจริง, บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี), ใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี) รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น เอกสารประกอบสิ่งปลูกสร้างบนโฉนดที่ดินหรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ เอกสารยินยอมจากคู่สมรส ฯลฯ  
  • เอกสารสำหรับการไถ่ถอน ประกอบไปด้วยโฉนดที่ดินฉบับจริง, บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน, ใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี) และใบเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี) 

สรุปได้ว่าค่าธรรมเนียมที่เราในฐานะของผู้ขายฝากต้องจ่ายให้กับสำนักงานที่ดินส่วนใหญ่เป็นไปตามกฎหมาย 3 แต่ทั้งนี้สามารถพูดคุยทางการตกลงกับบริษัทรับขายฝากที่ดินได้ว่าจะให้ทางบริษัทเป็นฝ่ายรับผิดชอบค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ก่อน แล้วเราค่อยจ่ายให้ทีหลังหรือเราจะเป็นฝ่ายจ่ายให้กับสำนักงานที่ดินเอง